วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

รายชื่อผู้ทำ


นาย ธิติ ถิรปฐมพงศ์                 เลขที่3
 นายปภาวิน ชีวินพิพัฒน์          เลขที่7

นายปรินทร์กรณ์ ประภามณฑล เลขที่8


International Law



1.            กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้ปกครองความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลระหว่างประเทศ โดยเป็นที่มีข้อพิสูจน์ยืนยันได้หลายประการ แต่มีลักษณะแตกต่างจากภายใน เนื่องจากเกิดขึ้นในสังคมที่มีโครงสร้างต่างกันและมีพื้นฐานทางกฎหมายต่างกัน
2.            ในด้านเนื้อหาและรูปแบบระหว่างประเทศมีเนื้อหาซับซ้อน และหลากหลายมากในปัจจุบันเมื่อเทียบกับสมัยก่อน ซึ่งเกิดขึ้นก่อนจากหลักเกณฑ์ในรูปประเพณีระหว่างประเทศและได้รับการพัฒนาเสริมขึ้นด้วยกฎเกณฑ์ในรูปของสนธิสัญญา
3.            กฎหมายระหว่างประเทศในยุคใหม่มีวิวัฒนาการอย่างมากจากคริสต์ศตวรรษที่ 16  ซึ่งเริ่มเกิดรัฐชาติขึ้นในสังคมระหว่างประเทศ และพัฒนาไปอย่างรวดเร็วตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 พร้อมกับการเกิดขึ้นของบุคคลระหว่างประเทศใหม่ ซึ่งได้แก่ องค์การระหว่างประเทศ
4.            กฎหมายระหว่างประเทศมีบ่อเกิดหลายประการ ทั้งที่เป็นบ่อเกิดหลักและบ่อเกิดลำดับรองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38 ของธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และบ่อเกิดที่ได้รับการยอมรับในทางปฏิบัติกล่าวคือการกระทำฝ่ายเดียว

1.1                   ความหมายและลักษณะของระหว่างประเทศ
1.             กฎหมายระหว่างประเทศหมายถึงกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ระหว่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันนอกจากรัฐแล้วยังมีองค์การระหว่างประเทศอีกด้วย อีกทั้งยังมีเนื้อหาซึ่งเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองปัจเจกคนภายในรัฐต่างๆ ด้วย
2.             กฎหมายระหว่างประเทศเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมาย แต่ระหว่างประเทศมีลักษณะที่แตกต่างจากภายในของรัฐ เนื่องจากโครงสร้างของสังคมและพื้นฐานทางกฎหมายของทั้งสองแบบแตกต่างกัน
3.             การยืนยันว่าระหว่างประเทศ เป็น อาจกระทำได้โดยอาศัยข้อพิสูจน์หลายประการ นอกจากนี้ไม่ว่านักนิติศาสตร์จะมีความเห็นแตกต่างกันอย่างไรก็ตามเกี่ยวกับคำอธิบายเรื่องสภาพบังคับ ของกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ในทางปฏิบัติแล้วปัจจัยที่สำคัญก็คือเจตนารมณ์ของรัฐต่างๆ และปัจจัยภายนอกอื่นๆ เช่น ผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศ

1.1.1               ความหมายของระหว่างประเทศ
ความหมายของระหว่างประเทศว่ามีความหมายอย่างไร
ระหว่างประเทศหมายถึงและข้อบังคับทั้งปวงของสังคมระหว่างประเทศที่กำกับและควบคุมพฤติกรรมของบุคคลระหว่างประเทศให้อยู่ร่วมกันโดยสันติสุข

1.1.2               ลักษณะของระหว่างประเทศ
อธิบายลักษณะของระหว่างประเทศ
ระหว่างประเทศเป็นกฎเกณฑ์ทางที่มีสภาพบังคบ เช่นเดียวกับภายใน แต่แตกต่างจากกฎหมายภายในตรงที่สภาพบังคับอาจมีประสิทธิภาพน้อยกว่าเนื่องจากความแตกต่างของโครงสร้างของสังคมและพื้นฐานทางที่ต้องอาศัยความยินยอมของรัฐผู้อยู่ใต้บังคับของกฎหมายเป็นปัจจัยหลัก

1.2                   วิวัฒนาการของระหว่างประเทศ
1.             กฎหมายระหว่างประเทศเริ่มเกิดขึ้นจากกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ในรูปของจารีตประเพณีระหว่างประเทศซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องที่ต้องใช้เวลายาวนานในการก่อตัวขึ้น และถูกเสริมด้วยกฎเกณฑ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรโดยเฉพาะในรูปของสนธิสัญญา
2.             เนื้อหาสาระของกฎหมายระหว่างประเทศ มีวิวัฒนาการไปมากจากกฎเกณฑ์ที่เดิมมุ่งเน้นความสัมพันธ์เฉพาะระหว่างรัฐ โดยพัฒนาไปในทิศทางที่ครอบคลุมเรื่องต่างๆ รวมถึงที่เกี่ยวกับเอกชนด้วย
3.             จากศตวรรษที่ 16 ซึ่งเริ่มเกิดมี รัฐชาติขึ้นจนถึงสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 กฎหมายระหว่างประเทศเป็นกฎเกณฑ์ที่เน้นใช้ปกครองความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ
4.             จากสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงปัจจุบัน กฎหมายระหว่างประเทศมีวิวัฒนาการไปอย่างมากมาย กล่าวคือ เกิดมีบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น อันได้แก่ องค์การระหว่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความหลากหลายและซับซ้อนขึ้นกว่าในอดีต

1.2.1         วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศในด้านรูปแบบและเนื้อหา
วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศในด้านรูปแบบและเนื้อหาว่า มีความเป็นมาอย่างไร
กฎหมายระหว่างประเทศเริ่มเกิดขึ้นก่อนในรูปของจารีตประเพณี และมีพัฒนาการมาเสริมด้วยกฎเกณฑ์มาเป็นลายลักษณ์อักษร กล่าวคือ สนธิสัญญา ส่วนในด้านเนื้อหาก็วิวัฒนาการมาจากกฎเกณฑ์ที่ใช้เฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ เช่น กฎหมายภาคสงคราม มาครอบคลุมด้านอื่นๆ รวมทั้งที่ใช้สิทธิประโยชน์ต่อปัจเจกชนด้วย เช่น สิทธิมนุษยชน

1.2.2         วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศในเชิงประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ของกฎหมายระหว่างประเทศยุคใหม่ มีความหมายอย่างไร
กฎหมายระหว่างประเทศยุคใหม่เริ่มขึ้นเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลขึ้น ในสังคมระหว่างประเทศราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่เป็นกฎเกณฑ์ที่จำกัดอยู่สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเป็นส่วนใหญ่ หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อมีการจัดตั้งสันนิบาตชาติขึ้น กฎหมายระหว่างประเทศก็มีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วพร้อมกับการยอมรับบุคคลระหว่างประเทศประเภทใหม่ที่มิใช่รัฐซึ่งได้แก่ องค์การระหว่างประเทศ ซึ่งมีส่วนร่วมอย่างมากในการพัฒนากฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศในสาขาต่างๆ

1.3                   บ่อเกิดของระหว่างประเทศ
1.             บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศมีหลายประการทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร กล่าวคือสนธิ สัญญา และที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งได้แก่ จารีตประเพณีระหว่างประเทศและหลักกฎหมายทั่วไป
2.             นอกจากนี้ยังมีบ่อเกิดซึ่ง มาตรา 38 ของธรรมนูญศาลสถิตยุติธรรมระหว่างประเทศบัญญัติว่าเป็นบ่อเกิดลำดับรอง กล่าวคือ แนวคำพิพากษาของศาลระหว่างประเทศและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย
3.             การกระทำฝ่ายเดียว เป็นอีกบ่อเกิดหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศ แต่เป็นบ่อเกิดที่มิได้ถูกระบุไว้ในมาตรา 38 ของธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

1.3.1         บ่อเกิดหลักของกฎหมายระหว่างประเทศ
ระบุบ่อเกิดหลักของกฎหมายระหว่างประเทศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38 ของธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอะไรบ้าง
ตามมาตรา 38 ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ บ่อเกิดหลักของกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศต้องใช้ในการพิพากษาตัดสินคดี คือสนธิสัญญา จารีตประเพณีระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไป

องค์ประกอบของจารีตประเพณีระหว่างประเทศมีอะไรบ้าง
จารีตประเพณีระหว่างประเทศจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยองค์ประกอบ 2 ประการ ทางปฏิบัติของรัฐที่มีลักษณะซ้ำๆ กันแพร่หลาย และภายในช่วงระยะเวลาหนึ่งในฐานะองค์ประกอบทางวัตถุ และความเชื่อมั่นว่าจะต้องกระทำเพราะเป็นกฎหมาย ในฐานะองค์ประกอบทางจิตใจ

1.3.2         บ่อเกิดลำดับรองของกฎหมายระหว่างประเทศและบ่อเกิดที่มิได้บัญญัติไว้ในธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
บ่อเกิดลำดับรองของกฎหมายระหว่างประเทศมีอะไรบ้างและมีบทบาทอย่างไร
บ่อเกิดลำดับรองของกฎหมายระหว่างประเทศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38 ของธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมี 2 ประการ กล่าวคือ แนวคำพิพากษาระหว่างประเทศ และทฤษฎีของผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งแม้จะมิได้เป็นบ่อเกิดของกฎหมายโดยตรง แต่ก็มีบทบาทอย่างมากในการระบุอธิบายรวมทั้งยืนยันเนื้อหาของกฎหมายระหว่างประเทศ




1.             รัฐเป็นบุคคลดั้งเดิมหรือเป็นบุคคลหลักในกฎหมายระหว่างประเทศรัฐเกิดขึ้นโดยองค์ประกอบ ทางข้อเท็จจริง มีสิทธิและหน้าที่ที่สมบูรณ์ตามกฎหมายระหว่างประเทศ และมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมายระหว่างประเทศ
2.             องค์การระหว่างประเทศเป็นบุคคลลำดับรองในกฎหมายระหว่างประเทศเกิดขึ้นโดยความตกลงระหว่างรัฐ มีความสามารถตามกฎหมายระหว่างประเทศที่จำกัดภายในขอบเขตของความตกลงก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศนั้นๆ
3.             โดยทั่วไปแล้ว ปัจเจกชนไม่มีสิทธิ ความรับผิดชอบ และใช้สิทธิในทางระหว่างประเทศได้โดยตรงตามกฎหมายระหว่างประเทศ ยกเว้นในบางกรณีที่มีขอบเขตที่จำกัดอย่างมาก
4.             บรรษัทข้ามชาติไม่ได้รับการยอมรับว่ามีสภาพเป็นบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ แต่มีสถานะเป็นเพียงบุคคลตามกฎหมายภายในเท่านั้น

2.1       รัฐ
1.             รัฐมีองค์ประกอบหลัก 3 ประการ คือดินแดน ประชากร และรัฐบาล คำจำกัดความของรัฐเป็นแนวความคิดทางรัฐศาสตร์มากกว่าทางนิติศาสตร์ เนื่องจากรัฐเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงของการใช้อำนาจดินแดนและประชากร
2.             การรับรองรัฐมีผลเสมือนเป็นการประกาศว่ารัฐได้เกิดขึ้นมาแล้ว รัฐที่ได้รับการรับรองจะมีความสามารถในการทำนิติกรรมระหว่างประเทศได้อย่างสมบูรณ์
3.             การรับรองรัฐขึ้นอยู่กับการใช้ดุลพินิจของรัฐผู้ให้การรับรอง โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐเป็นสำคัญ
4.             รัฐมีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกันตามกฎหมาย หน้าที่ที่สำคัญประการหนึ่งของรัฐคือ การไม่เข้าแทรกแซงต่อกิจการภายในของรัฐอื่น
5.             การสืบสิทธิของรัฐในส่วนที่เกี่ยวกับสนธิสัญญาตั้งอยู่บนพื้นฐานของความประสงค์ของรัฐผู้สืบสิทธิและการพิทักษ์ผลประโยชน์ของรัฐที่สาม
6.             การสืบสิทธิของรัฐในเรื่องอื่นๆ นำหลักของความยุติธรรม (equity) มาปรับใช้เพื่อแบ่งความรับผิดชอบ

2.1.1       กำเนิดของรัฐ
อธิบายการเกิดและองค์ประกอบของรัฐ
รัฐเกิดขึ้นจากการรวมตัวอย่างเป็นจริงขององค์ประกอบ 4 ประการ คือ ดินแดน ประชากร รัฐบาล เอกราชอธิปไตยและความสามารถที่จะเข้าไปดำเนิน สัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ

อธิบายเงื่อนไขของการให้ความคุ้มครองทางการทูตของรัฐ
รัฐอาจให้ความคุ้มครองทางการทูตต่อคนชาติของตนได้เมื่อ
(1)       คดีถึงที่สุดในศาลของรัฐผู้รับแล้ว
(2)       การกระทำของรัฐผู้รับทำให้เกิดผลเสียหายทางกระบวนการยุติธรรม
(3)       ความผิดนั้นจะต้องปราศจากเจตนามิชอบ
(4)       รัฐผู้ให้ความคุ้มครองเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจพิจารณาว่าสมควรที่จะให้ความคุ้มครองทางการทูตหรือไม่
(5)       เป็นการให้ความคุ้มครองแก่คนชาติของตนหรือแก่คนชาติอื่นที่มีความตกลงกำหนดให้รัฐนั้นเป็นผู้ให้ความคุ้มครองแทนได้

2.1.2       การรับรองรัฐ
การรับรองรัฐทำได้โดยวิธีใด และมีผลทางปฏิบัติระหว่างประเทศอย่างไร
การรับรองรัฐทำได้สองวิธีคือ การรับรองโดยนิตินัย และการรับรองโดยพฤตินัย การรับรองรัฐทำให้นิติฐานะของรัฐที่ได้การรับรองมั่นคงขึ้น สามารถทำความตกลงระหว่างประเทศกับรัฐอื่นๆ ได้อย่างสมบูรณ์ และมีสิทธิหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของตน และสามารถเรียกร้องให้รัฐอื่นๆ เคารพสิทธิของตนด้วย

รัฐมีหน้าที่ต้องให้การรับรองรัฐใหม่หรือไม่ เพราะเหตุใด
รัฐไม่มีหน้าที่จะต้องให้การรับรองรัฐใหม่ เพราะการตัดสินใจให้การรับรองรัฐเป็นดุลยพินิจของรัฐผู้ให้การรับรองแต่ฝ่ายเดียว

2.1.3       สิทธิและหน้าที่ของรัฐ
สิทธิในเอกราชที่สำคัญของรัฐมีอะไรบ้าง
สิทธิในเกราชที่สำคัญของรัฐ ได้แก่สิทธิในการแสดงออกซึ่งเอกราชภายในดินแดนของรัฐซึ่งได้แก่ การออกกฎหมายเท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และสิทธิในการแสดงออกซึ่งเอกราชในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น การทำความตกลงระหว่างประเทศเป็นต้น

สิทธิในความเสมอภาคของรัฐทางกฎหมาย สอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคมระหว่างประเทศหรือไม่เพียงใด
ความเสมอภาคของรัฐในทางกฎหมายยังไม่สอดคล้องกับโครงสร้างที่เป็นจริงของสังคมระหว่างประเทศ ปัจจุบันมีความพยายามที่จะใช้วิธีการที่ให้ผลปฏิบัติซึ่งไม่เท่าเทียมกันเป็นเครื่องมือ เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายของความเสมอภาคระหว่างรัฐ

2.1.4       การสืบสิทธิของรัฐ
อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญามีอิทธิพล และความสัมพันธ์กับหลักการทั่วไปของการสืบสิทธิของรัฐต่อสนธิสัญญาอย่างไร
การสืบสิทธิของรัฐต่อสนธิสัญญา เป็นผลงานของคณะกรรมาธิการกฎหมายของสหประชาชาติที่สืบเนื่องมาจากอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา แนวความคิดหรืออิทธิพลของอนุสัญญาฉบับนี้เหนือหลักการของการสืบสิทธิของรัฐต่อสนธิสัญญาได้แก่ หลักการที่คุ้มครองความประสงค์ของรัฐที่สาม เช่นการทำความตกลงระหว่างรัฐแม่กับรัฐผู้สืบสิทธิจะไม่มีผลผูกมัดรัฐที่สาม นอกจากรัฐนั้นจะให้ความยินยอมและหลักการว่าด้วยการคงสภาพเดิมของเส้นเขตแดนระหว่างประเทศเป็นต้น

ตามอนุสัญญากรุงเวียนนาฉบับ ค.ศ. 1978 รัฐผู้สืบสิทธิอาจปฏิเสธเส้นเตแดนที่กำหนดการสืบสิทธิได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
อนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1978 ไม่อนุญาตให้รัฐผู้สืบสิทธิปฏิเสธเส้นเขตแดนที่ได้กำหนดขึ้นก่อนการสืบสิทธิ ทั้งนี้โดยถือว่าสนธิสัญญากำหนดเขตแดนมีลักษณะพิเศษต่างไปจากสนธิสัญญาประเภทอื่นๆ คือเป็นสนธิสัญญาที่ได้รับการปฏิบัติไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีจุดประสงค์ที่จะรักษาสันติภาพของโลกปัจจุบัน เพราะข้อพิพาทเรื่องเขตแดนเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของภาวะสงครามระหว่างรัฐ อย่างไรก็ตาม รัฐผู้สืบสิทธิก็ยังมีทางออกได้อีกโดยอาจขอเปิดการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อปรับหรือแก้ไขเส้นเขตแดนใหม่

2.2       องค์การระหว่างประเทศ
1.             สภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศขององค์การระหว่างประเทศ อาจปรากฏโดยชัดแจ้งในเอกสารก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศ หรือโดยนัยจากเอกสารก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศและถูกทำให้ชัดเจนและมั่นคงขึ้น (Consolidated) โดยทางปฏิบัติขององค์การระหว่างประเทศนั้นเอง
2.             ความสามารถในการกระทำตามกฎหมายระหว่างระเทศ ขององค์การระหว่างประเทศแต่ละองค์การอาจไม่เท่าเทียมกัน โดยขึ้นอยู่กับความตกลงก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศนั้นๆ หรือบางกรณีอาจเป็นผลมาจากการมีอำนาจโดยปริยาย และการตีความความตกลงก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศนั้นเอง
3.             องค์การระหว่างประเทศมีความรับผิดชอบตามกฎหมายระหว่างประเทศ หากกระทำการละเมิดพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ

2.2.1       สภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศขององค์การระหว่างประเทศ
ในการพิจารณาสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศขององค์การระหว่างประเทศมีแนวทางพิจารณาอย่างไร
กรณีที่ตราสารก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศ มิได้ระบุถึงสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ ขององค์การระหว่างประเทศไว้อย่างชัดแจ้ง ก็อาจพิจารณาสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศขององค์การระหว่างประเทศโดยอาศัยแนวทางดังต่อไปนี้
(1)       องค์การระหว่างประเทศนั้นเกิดขึ้นโดยความตกลงระหว่างรัฐเพื่อก่อตั้งเป็นสมาคมของรัฐอย่างถาวร
(2)       มีโครงสร้างประกอบด้วยองค์กรย่อยต่างๆ ที่จะดำเนินภารกิจขององค์การระหว่างประเทศ
(3)       มีวัตถุประสงค์ขององค์การระหว่างประเทศแยกต่างหากจากบรรดารัฐสมาชิก
(4)       มีสิทธิหน้าที่และสามารถใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่ได้ในทางระหว่างประเทศ

2.2.2       ความสามารถกระทำการขององค์กรระหว่างประเทศตามกฎหมายระหว่างประเทศ
องค์การระหว่างประเทศมีความสามารถกระทำการตามกฎหมายระหว่างประเทศในขอบเขตเพียงใด
องค์การระหว่างประเทศถูกสร้างขึ้นโดยความตกลงระหว่างรัฐ เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะบางประการดังนั้น โดยหลักแล้วองค์การระหว่างประเทศจึงมีความสามารถตามที่กำหนดไว้ในความตกลงก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศ แต่ความสามารถขององค์การระหว่างประเทศก็อาจขยายขอบเขตออกไปได้ อันเป็นผลมาจากความจำเป็นเพื่อให้การปฏิบัติงานขององค์การระหว่างประเทศลุล่วงไปอย่างมีประสิทธิผล(Functional Competence) หรือเรียกกันว่าเป็น อำนาจโดยปริยาย (Implied Power) และการตีความตราสารก่อตั้งซึ่งได้พัฒนาต่อมาในภายหลัง

2.2.3       ความรับผิดขององค์การระหว่างประเทศตามกฎหมายระหว่างประเทศ
องค์การระหว่างประเทศมีความรับผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่
ในการปฏิบัติภารกิจขององค์การระหว่างประเทศตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐสมาชิก ในบางกรณีอาจมีการฝ่าฝืนพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศในฐานะที่เป็นนิติบุคคลระหว่างประเทศ ซึ่งมีสภาพบุคคลแยกต่างหากจากบรรดารัฐสมาชิกจึงต้องรับผิดในผลของการกระทำดังกล่าวโดยถือเป็นความรับผิดขององค์การระหว่างประเทศนั้นเอง

2.3       ปัจเจกชนและบริษัทข้ามชาติ
1.             ตามแนวความคิดนับตั้งแต่เดิม ปัจเจกชนเป็นเพียงวัตถุในกฎหมายระหว่างประเทศ (Objects of International Law) อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 ปัจเจกชนที่ได้รับการยอมรับให้สามารถมีสิทธิใช้สิทธิเรียกร้องในทางระหว่างประเทศและมีความรับผิดโดยตรง ตามกฎหมายระหว่างประเทศบางประการ แต่มีขอบเขตที่จำกัดอย่างมาก
2.             มีหลักฐานที่แสดงถึงการยอมรับว่าปัจเจกชนต้องรับผิดโดยตรงในการกระทำบางอย่างที่เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
3.             บรรษัทข้ามชาติแม้จะมีบทบาทในสังคมระหว่างประเทศ คงมีสถานะเป็นเพียงบุคคลตามกฎหมายภายในเท่านั้น

2.3.1       สถานะของปัจเจกชนตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ศาลอาญาระหว่างประเทศมีขอบเขตอำนาจเพียงใดตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ
ตามข้อบทที่ 5 แห่งธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจเหนือปัจเจกชน มิได้มีเขตอำนาจเหนือรัฐหรือองค์การระหว่างประเทศ และมีเพียงเขตอำนาจเหนืออาชญากรรม 4 ประเภท ตามที่กำหนดไว้ในธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งได้แก่อาชญากรรมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมรุกรานเท่านั้น

2.3.2       สถานะของบริษัทข้ามชาติตามกฎหมายระหว่างประเทศ
บรรษัทข้ามชาติมีสถานะเป็นบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่
บรรษัทข้ามชาติแม้จะมีส่วนร่วมในสังคมระหว่างประเทศ แต่รัฐต่างๆก็ยังไม่ให้การยอมรับว่าเป็นบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่สามารถใช้สิทธิเรียกร้องในทางระหว่างประเทศได้โดยตรง แต่ยังคงต้องอาศัยความคุ้มครองทางการทูตจากรัฐซึ่งบรรษัทข้ามชาตินั้นถือสัญชาติ



1.              เขตแดนของรัฐเป็นการกำหนดขอบเขตแห่งดินแดนของแต่ละรัฐ ที่มีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน บุคคลและกิจการ ภายในรัฐนั้น และแยกจากดินแดนของรัฐอื่นๆ ในประชาคมโลก ดังนั้นการมีเขตแดนที่แน่นอนจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเป็นรัฐ และเป็นขอบเขตดินแดนที่รัฐสามารถใช้อำนาจสูงสุดแห่งอธิปไตยแห่งตนโดยไม่มีรัฐใดสามารถเข้ามาก้าวล่วงหรือแทรกแซงได้
2.              เขตแดนของรัฐประกอบด้วยส่วนต่างๆได้แก่พื้นดิน พื้นน้ำ แม่น้ำ ลำคลอง อันเป็นน่านน้ำภายใน รวมทั้งแม่น้ำระหว่างประเทศในส่วนที่ผ่านดินแดนรัฐนั้นๆ อ่าว และทะเลอาณาเขต อากาศเหนือพื้นดินและพื้นน้ำตลอดจนลึกลงไปใต้ผิวดินถึงแก่นโลก นอกจากนั้นบางประเทศยังมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างจากดินแดนปกติ ซึ่งมีลักษณะดินแดนเป็นหมู่เกาะและเขตแดนของรัฐที่เป็นน่านน้ำของหมู่เกาะด้วย
3.              การกำหนดเขตแดนของรัฐมีทั้งการกำหนดเขตแดนทางบก ทางน้ำ และทางอากาศซึ่งอาจกระทำได้หลายลักษณะเช่น โดยการตกลงให้ใช้อุปสรรคทางธรรมชาติอันเป็นลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นพรหมแดนได้แก่สันเขา สันปันน้ำ ร่องน้ำ เส้นกึ่งกลางของลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ หรือโดยการทำความตกลงกันกำหนดเส้นเขตแดนโดยผลของสนธิสัญญา หรือโดยผลของคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
4.              การได้ดินแดนของรัฐมีหลายรูปแบบ ได้แก่ การได้ดินแดนโดยการได้รับการยกให้ซึ่งดินแดนจากรัฐอื่น การครอบครองดินแดน การงอกขึ้นของแผ่นดิน หรือส่วนต่อเนื่องของดินแดน การผนวกดินแดนโดยการเข้ายึดครองโดยสมบูรณ์ และการได้ดินแดนโดยการครอบครองปรปักษ์ สำหรับการสูญเสียดินแดนก็มีหลายลักษณะ ได้แก่ การยกดินแดนให้รัฐอื่น การถูกยึดครองโดยสมบูรณ์และถูกผนวกดินแดนโดยรัฐอื่น การถูกปฏิวัติเปลี่ยนแปลงเขตแดน การสูญเสียดินแดนโดยถูกครอบครองปรปักษ์ การสูญเสียดินแดนโดยการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ และการละทิ้งดินแดน
5.              เจตอำนาจรัฐ หมายถึงอำนาจตามกฎหมายของรัฐเหนือบุคคล ทรัพย์สิน หรือเหตุการณ์ต่างๆ
6.              เขตอำนาจรัฐ อาจจำแนกตามเนื้อหาของอำนาจได้เป็น 2 ประเภทคือ (1) เขตอำนาจในการสร้างหรือบัญญัติกฎหมาย และ (2) เขตอำนาจในการบังคับการตามกฎหมาย
7.              การใช้เขตอำนาจย่อมเป็นไปตามกฎหมายภายในของรัฐ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายระหว่างประเทศด้วย กล่าวคือ รัฐสามารถใช้เขตอำนาจของตนเหนือบุคคล ทรัพย์สินหรือเหตุการณ์ต่างๆ ตามกฎหมายภายใน โดยมีการเชื่อมโยงบางประการ ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศรับรอง
8.              เขตอำนาจของรัฐมีมูลฐานมาจากหลักการสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ (1) หลักดินแดน Territorial Principle (2) หลักสัญชาติ  National Principle  (3) หลักผู้ถูกกระทำ Passive Personality Principle  (4) หลักป้องกัน Protective Principle (5) หลักสากล Universality Principle  ซึ่งแต่ละหลักการดังกล่าวมีสาระสำคัญที่สนับสนุนการใช้เขตอำนาจรัฐด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน

เขตแดนของรัฐ
1.              เขตแดนเป็นเครื่องกำหนดขอบเขตของดินแดนที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐ กำหนดขอบเขตแห่งการมีสิทธิและหน้าที่ระหว่างประเทศของรัฐในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  และแบ่งแยกอำนาจของรัฐออกจากกันโดยเด็ดขาด เว้นแต่กรณีที่รัฐต่างๆ ได้แสดงเจตจำนงในการให้ความร่วมมือระหว่างกันในกรอบของความร่วมมือที่ได้ตกลงระหว่างกันไว้ เขตแดนจึงเป็นทั้งเครื่องชี้แสดงและจำกัดขอบเขตการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐในประชาคมระหว่างประเทศ
2.              องค์ประกอบของดินแดนของรัฐ คือพื้นดิน ใต้ดอน น่านน้ำภายใน ทะเลอาณาเขต และน่านฟ้าเหนือดินแดน น่านน้ำภายในและทะเลอาณาเขต
3.              แม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบ อ่าวและช่องแคบ ก็เป็นองค์ประกอบของเขตแดนของรัฐซึ่งอาจมีลักษณะเป็นเขตแดนภายในของรัฐ หรือเป็นเจตแดนระหว่างประเทศได้
4.              รัฐที่มีลักษณะเป็นหมู่เกาะ ได้แก่ รัฐที่มีดินแดนประกอบไปด้วยเกาะหลายเกาะ การกำหนดขอบเขตของเขตแดนของรัฐนั้นจึงแตกต่างจากการกำหนดขอบเขตของเขตแดนของรัฐทั่วไป รวมทั้งการกำหนดน่านน้ำ และทะเลอาณาเขตของเกาะด้วย  รัฐชายฝั่งที่มีลักษณะพิเศษทางภูมิศาสตร์ก็จะได้รับการกำหนดเขตแดนที่แตกต่างจากหลักเกณฑ์ทั่วไปด้วยเช่นกัน
5.              การกำหนดเส้นเขตแดนของรัฐมีทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยมักจะอาศัยอุปสรรคทางภูมิศาสตร์เป็นแนวเขตแดน ได้แก่สันเขา สันปันน้ำ แม่น้ำ ลำน้ำ ทะเลสาบ ซึ่งแบ่งแยกดินแดนของรัฐตามธรรมชาติ ส่วนการกำหนดเส้นเขตแดนทางอากาศมักจะเป็นน่านฟ้าเหนือขอบเขตอันเป็นเส้นเขตแดนทางพื้นดิน และทะเลอาณาเขต กล่าวคือน่านฟ้าเหนือพื้นดิน น่านน้ำภายใน และทะเลอาณาเขต
6.              ขั้นตอนและวิธีการกำหนดเส้นเขตแดนกระทำโดยคณะกรรมการป้องกันเขตแดน คณะกรรมการกำหนดจุดพิกัด และคณะกรรมการปักหลักเขต ซึ่งมักจะเป็นคณะกรรมการผสมประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคของภาคีคู่สัญญา และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการทั้งสามจะเป็นไปตามที่รัฐภาคีกำหนด โดยทำให้การกำหนดเส้นเขตแดนเป็นไปตามที่ภาคีคู่สัญญาได้ตกลงกันไว้

                                    แนวความคิดความหมาย และความสำคัญของเขตอำนาจรัฐ
อธิบายแนวคิดและความหมายของเขตแดนของรัฐ
เขตแดนเป็นเครื่องกำหนดขอบเขตของดินแดนที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐ เขตแดนจึงเป็นทั้งเครื่องชี้แสดง และจำกัดขอบเขตการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐในประชาคมระหว่างประเทศ

เขตแดนมีความสำคัญอย่างไร
การมีเขตแดนที่แน่นอนของรัฐมีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นองค์ประกอบอันบ่งชี้ถึงการมีสภาพการเป็นรัฐ ไม่ว่ารัฐนั้นจะมีเขตแดนขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตาม เส้นเขตแดนจึงเป็นสิ่งที่กำหนดขอบเขตแห่งการมีสิทธิและหน้าที่ระหว่างประเทศของรัฐ ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศได้รับรองถึงอำนาจอธิปไตยภายในกรอบแห่งเขตแดนของรัฐนั้นๆ ดังนั้นไม่ว่าบุคคลใดๆ ทรัพย์สิ่งของวัตถุสิ่งใดเมื่อเข้าไป หรืออยู่ภายในเขตแดนของรัฐใดย่อมต้องอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐนั้น ตลอดจนเคารพต่อกฎหมายของรัฐนั้น

อธิบายหลักกฎหมายว่าด้วยการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยแห่งดินแดน
ดินแดนหนึ่งหรือดดินแดนเดียวกันย่อมมีอำนาจอธิปไตยเพียงหนึ่งเดียว เหนือดินแดนนั้นเนื่องจากเขตแดนทำให้มีการแบ่งแยกอำนาจของรัฐออกจากกันเด็ดขาด และรัฐมีอำนาจในการใช้อธิปไตยแห่งตนโดยสมบูรณ์เว้นแต่กรณีที่รัฐต่างๆได้แสดงความจำนงในการให้ความร่วมมือระหว่างกันในกรอบของความร่วมมือที่ได้ตกลงระหว่างกันไว้หรือการยอมรับให้สิทธิพิเศษซึ่งกันและกันบางประการแก่รัฐที่เป็นคู่ภาคีความตกลงนั้นๆ นอกจากนั้นอาจจะปรากฏว่ามีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนนั้นหรือมีรัฐมากกว่ารัฐหนึ่งใช้อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนนั้นๆ แล้วแต่กรณี ไม่ว่าเป็นการชั่วคราวหรือถาวร ไม่ว่าโดยผลของความตกลงระหว่างกันในลักษณะทวิภาคี หรือโดยผลของสนธิสัญญาพหุภาคี หรือโดยผลของมติสหประชาชาติหรือองค์การระหว่างประเทศอื่นใด เช่น การให้เช่าดินแดน การปกครองร่วมกันตามหลักคอนโดมีเนียม ดินแดนภายใต้ภาวะทรัสตี เป็นต้น

                                    องค์ประกอบของดินแดนของรัฐ
อธิบายความแตกต่างที่สำคัญของ Innocent Passage กับ Transit Passage ของเรือหรืออากาศยานที่เดินเรือหรือบินผ่านช่อแคบ
ความแตกต่างที่สำคัญของการเดินเรือ หรือการบินผ่านโดยสุจริต กับสิทธิการบินผ่านชั่วคราวของเรือ หรืออากาศยานที่เดินเรือ หรือบินผ่านช่องแคบจำแนกได้ดังต่อไปนี้

การเดินเรือผ่านโดยสุจริต (Innocent Passage)
สิทธิการผ่านชั่วคราว (Transit Passage)
**อากาศยานไม่มีสิทธิบินผ่านช่อแคบในลักษณะของการบินโดยสุจริตโดยเด็ดขาด
**เรือดำน้ำต้องลอยลำขึ้นเหนือผิวน้ำ
**ในบางกรณีหรือภายใต้สถานการณ์ที่จำเป็น รัฐชายฝั่งเจ้าของช่องแคบอาจจะขอให้ระงับ ยับยั้งการเดินเรือผ่านได้
**ทั้งเรือและอากาศยานสามารถเดินเรือและบินผ่านช่องแคบชั่วคราวโดยสุจริตได้
**เรือดำน้ำสามารถดำน้ำอยู่ใต้ผิวน้ำเมื่อผ่านช่องแคบ
**ไม่มีการใช้สิทธิ ระงับยับยั้ง หรือหยุดการเดินเรือหรือบินผ่านช่องแคบโดยสุจริตได้

อธิบายคำว่า นโยบาย ฟ้าเปิด (Open Skies) หมายความว่าอย่างไร
นโยบายฟ้าเปิด (Open Skies) หมายถึงหลักการในการที่รัฐต่างๆ จะผ่อนคลายกฎระเบียบที่กำหนดเกี่ยวกับการบิน และให้เสรีภาพในการบินมากขึ้น ทั้งนี้เป็นไปตามวิวัฒนากาเทคโนโลยี และความก้าวหน้าทางการพาณิชย์ที่มีความจำเป็นให้มีการเปิดน่านฟ้าของรัฐต่างๆ เพื่อการบินระหว่างประเทศของอากาศยายพาณิชย์มากขึ้น มิให้เป็นอุปสรรคของการติดต่อค้าขาย และการให้บริการทางการบินระหว่างประเทศ ซึ่งเดิมทีนั้นอากาศยานเป็นสิ่งที่น่ากลัว และถือเป็นอาวุธสงคราม ไม่อาจจะให้มีการบินผ่านเขตแดนได้โดยเสรี ทั้งนี้ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับความปลอดภัยของรัฐต่างๆ นั่นเอง

                                    การกำหนดเส้นเขตแดนของรัฐและขั้นตอนการปักปันเขตแดน
อธิบายวิธีการกำหนดเส้นเขตแดนทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ และการตกลงกำหนดอุปสรรคทางธรรมชาติให้เป็นเส้นเขตแดนของรัฐ
ลักษณะการกำหนดเส้นเขตแดนของรัฐ มีสองลักษณะ ลักษณะแรกคือการกำหนดเส้นเขตแดนของรัฐที่กำหนดในแผนที่ โดยอาศัยการกำหนดจุดพิกัดทางภูมิศาสตร์ แล้วกำหนดลงบนแผนที่ เป็นการกำหนดจุดเพื่อการลากเส้นสมมติที่ลากขึ้นมาเพื่อกำหนดเส้นของรัฐบนผืนโลก เพื่อแบ่งแยกดินแดนของรัฐหนึ่งออกจากดินแดนของรัฐอีกรัฐหนึ่งให้เห็นชัดเจนลงบนแผนที่ อีกลักษณะหนึ่งคือการกำหนดเขตแดนตามธรรมชาติ (Natural Boundaries) กล่าวคือเป็นการกำหนดเขตแดนโดยอาศัยอุปสรรคทางธรรมชาติเช่น แม่น้ำ ทะเล ภูเขา ทะเลสาบ และยังจำเป็นจะต้องกำหนดเส้นเขตแดนที่ชัดเจนแน่นอนลงไปบนพื้นที่จริงแห่งดินแดนนั้นๆ มีการกำหนดหลักเขต มีการปักหลักเขตลงบนพื้นดินเพื่อกำหนดเขตแดนที่แท้จริง และการกระทำดังกล่าวย่อมต้องอาศัยคณะกรรมการร่วมหลายฝ่ายเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งเริ่มตั้งแต่การแต่งตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดน คณะกรรมการกำหนดจุดพิกัด และคณะกรรมการปักหลักเขต
(ก)     การกำหนดเส้นเขตแดนทางบก การกำหนดเส้นเขตแดนทางบกมักจะอาศัยอุปสรรคทางภูมิศาสตร์เป็นแนวเขตแดน ได้แก่ สันเขา สันปันน้ำ เป็นต้น เขตแดนที่เป็นภูเขา หรือภูเขาเขตแดน (Mountain Boundaries) นั้นถือว่าเป็นเขตแดนที่มีความถาวร โดยทั่วไปเขตแดนทางบกจึงมักจะเป็นไปตามแนวเทือกเขาซึ่งอาศัยเป็นเครื่องกั้นพรหมแดนระหว่างประเทศหรือระหว่างรัฐ แต่ในกรณีที่เป็นแนวเทือกเขาซึ่งมีลักษณะสลับซับซ้อน มีโครงสร้างสลับซับซ้อน การกำหนดจุดแบ่งเขตแดน (Delimitation) จะต้องตกลงกันให้แน่นอน และพิจารณาว่าจะใช้จุดใด เช่น ตำแหน่งของสันเขาซึ่งเป็นจุดสูงสุดของสันเขา (The highest Peaks หรือ Crete) ซึ่งนิยมใช้สันเขาในกรณีที่มีแนวเขาต่อเนื่องอยู่บนพื้นที่ภาคีคู่สัญญา โดยใช้ยอดสูงสุดของเขานั้นเป็นหลัก เพื่อลากเส้นเขตแดนเชื่อมต่อกัน หรือจะใช้สันปันน้ำ (Watershed) ซึ่งหมายถึงแนวสันเขาบริเวณที่แบ่งน้ำให้ไหลลงลาดเขาไปยังที่ลุ่มน้ำของทั้งสองฝั่งฟากของเขานั้น
(ข)      การกำหนดเส้นเขตแดนทางน้ำ การกำหนดเส้นเขตแดนทางน้ำมักจะอาศัย แม่น้ำ ลำน้ำ ทะเลสาบ ซึ่งแบ่งแยกเขตแดนของรัฐตามธรรมชาติ การกำหนดเส้นเขตแดนอาจจะอาศัยฝั่งของรัฐใดรัฐหนึ่งเป็นเขตแดน หรือให้ฝั่งของแต่ละรัฐเป็นเขตแดน หรือให้ใช้จุดกึ่งกลางลำน้ำเป็นเขตแดน หรืออาจกำหนดให้ใช้ร่องน้ำลึกเป็นเส้นแบ่งเขตแดน แล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นไปตามความตกลง หรือตามคำพิพากษาของศาลระหว่างประเทศ
(ค)     การกำหนดเส้นเขตแดนทางอากาศ การกำหนดเส้นเขตแดนทางอากาศมักจะเป็นไปตามขอบเขตอันเป็นเส้นเขตแดนทางพื้นดิน และทะเลอาณาเขต กล่าวคือน่านฟ้าเหนือพื้นดิน น่านน้ำภายในและทะเลอาณาเขต และย่อมมีอำนาจอธิปไตยในน่านฟ้าเหนือดินแดนของรัฐ แต่ต้องเคารพหลักการบินผ่านของอากาศยานของรัฐอื่นตามกฎหมายระหว่างประเทศ

อธิบายขั้นตอนและการกำหนดเส้นเขตแดนของรัฐ และอธิบายถึงบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการปักปันเส้นเขตแดน คณะกรรมการกำหนดจุดพิกัด และคณะกรรมการปักหลักเขต ในการกำหนดเส้นเขตแดน
ขั้นตอนและวิธีการกำหนดเส้นเขตแดนกระทำโดยคณะกรรมการปักปันเขตแดน (Delimitation Commission) คณะกรรมการกำหนดจุดพิกัด (Demarcation Commission) และคณะกรรมการปักหลักเขต ซึ่งมักจะเป็นคณะกรรมการผสมประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคของภาคีคู่สัญญา และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการทั้งสามจะเป็นไปตามที่รัฐภาคีกำหนด โดยทำให้การกำหนดเส้นเขตแดนเป็นไปตามที่ภาคีคู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ ทั้งนี้เนื่องจากความตกลงกำหนดเส้นเขตแดนมักจะระบุหลักการในการที่รัฐแต่ละฝ่ายจะต้องกระทำในการปักหลักเขตไว้เท่านั้น แต่การกำหนดเส้นเขตแดนที่ถูกต้องลงบนพื้นที่จริงจะต้องมีการกระทำอย่างละเอียดทั้งในแง่เทคนิค วิทยาการ ความแม่นยำของตำแหน่ง เช่นในการกำหนดจุดพิกัดทางภูมิศาสตร์จะต้องมอบให้คณะกรรมการไปดำเนินการจัดทำระบนเส้นเขตแดนให้ถูกต้องตามภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ และสภาพในท้องถิ่น
บทบาทและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการทั้งสามมีดังต่อไปนี้คือ
(ก)     คณะกรรมการปักปันเขตแดนเป็นหน่วยงานผสม ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายและคณะกรรมการทำแผนที่ ซึ่งรัฐบาลทั้งสองฝ่ายเป็นผู้แต่งตั้งขึ้น คณะกรรมการร่วมนี้มีหน้าที่สำรวจและดำเนินการปักปันเส้นเขตแดนลงบนพื้นที่จริงโดยอาศัยการเดินสำรวจเพื่อตรวจสอบความถูกต้องแล้วทำเครื่องหมาย หรือปักหลักเขตชั่วคราว เพื่อให้คณะกรรมการปักปันเส้นเขตแดนจะต้องยึดถือหลักบทบัญญัติของความตกลงกำหนดเส้นเขตแดน หรือคำพิพากษาของศาลเป็นพื้นฐานในการดำเนินงานของตน และในความเป็นจริง คณะกรรมการอาจจะต้องปรับเส้นเขตแดนให้เป็นไปตามสภาพภูมิศาสตร์ที่แท้จริงในทุกกรณี และคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงแห่งบูรณภาพของชุมชน แหล่งกสิกรรม หรือความเป็นอยู่ในพื้นที่จริง สภาพทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา
(ข)      คณะกรรมการกำหนดจุดพิกัด มีหน้าที่รับข้อมูลจากคณะกรรมการปักปันเส้นเขตแดน เพื่อกำหนดจุดพิกัดลงบนแผนที่ให้แน่นอน
(ค)     คณะกรรมการปักปันหลักเขต มีหน้าที่ทำหลักเขตถาวรลงบนพื้นดิน จัดทำบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับเส้นเขตแดนเป็นลายลักษณ์อักษร จัดเตรียมการพิมพ์แผนที่ ออกตรวจ ดูแล หรือซ่อมแซมหลักเขตที่ชำรุด หรือสูญหายตามแต่ที่รัฐจะทำความตกลงเป็นครั้งคราว

                                    การได้มาและการสูญเสียดินแดนของรัฐ
อธิบายองค์ประกอบที่สำคัญของการได้ดินแดนมาโดยการครอบครอง Occupation
การครอบครอง (Occupation) นั้นหมายถึงการกระทำของรัฐใดรัฐหนึ่งในการเข้ายึดครองเอาดินแดนใดดินแดนหนึ่ง โดยจงใจที่จะได้มาซึ่งอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนนั้นๆ ในลักษณะที่ดินแดนนั้นในขณะนั้นไม่ได้อยู่ในอธิปไตยแห่งรัฐใดเลย โดยลักษณะนี้การครอบครองจึงเป็นรูปแบบดั้งเดิมของการได้มาซึ่งอำนาจอธิปไตย (An original mode of acquisition of sovereignty ) และไม่ถือว่าเป็นการได้มาซึ่งอำนาจอธิปไตยจากรัฐอื่น การครอบครองสามารถกระทำได้แต่โดยรัฐ และเพื่อรัฐเท่านั้น และจะต้องเป็นการกระทำของรัฐ หรือกระทำในการปฏิบัติการของรัฐเท่านั้น หรือรัฐต้องเข้ารับเอาการปฏิบัติการนั้นๆว่าเป็นการกระทำโดยรัฐ (it must be acknowledged by a state after its performance)
ดินแดนที่จะถูกครอบครองได้ ได้แก่ ดินแดนซึ่งยังไม่เป็นของรัฐใด ที่เรียกว่าดินแดนที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ (Terra Nullius) หรือ สิ่งที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ (Res nullius) ไม่ว่าจะมีประชากรอยู่อาศัยหรือไม่ก็ตาม และหากเป็นประชาคมแล้วก็ไม่ต้องมีลักษณะเป็นรัฐ
องค์ประกอบของการครอบครองมีสามประการคือ 1. ได้มีการครอบครองอย่างแท้จริงเหนือดินแดน 2. ได้มีการสถาปนาระบอบการปกครองเหนือดินแดนนั้นๆ 3. ได้กระทำในนามของประเทศที่ได้มาซึ่งการครอบครองดินแดนนั้น ซึ่งต้องเป็นไปอย่างแท้จริง (Real Occupation) หากภายในระยะเวลาหนึ่งรัฐที่ครอบครองไม่สามารถสถาปนาระบอบการปกครอง หรือใช้อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนนั้นได้ ก็เรียกว่าไม่มีการครอบครองที่มีประสิทธิผล หรือไม่มีประสิทธิภาพในการครอบครอง (No effective Occupation) รัฐนั้นย่อมไม่ได้ไปซึ่งดินแดน

อธิบายความแตกต่างระหว่างการครอบครองปรปักษ์ (Prescription) ตามกฎหมายโรมัน และกฎหมายระหว่างประเทศ
ความแตกต่างระหว่างการครอบครองปรปักษ์ (Prescription) ตามกฎหมายโรมัน และกฎหมายระหว่างประเทศนั้นแตกต่างกันในส่วนที่เกี่ยวกับเจตนาสุจริตในการครอบครอง (Bona fide Possession) ตามกฎหมายโรมัน แต่ตามกฎหมายระหว่างประเทศการครอบครองปรปักษ์อาจจะกระทำได้ทั้งโดยสุจริตและไม่สุจริต (Mala fide) ตามกฎหมายโรมันการครอบครองจะต้องกระทำเป็นระยะเวลาเนิ่นนานนับตั้งแต่บรรพกาล ส่วนตามกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นที่ยอมรับกันว่าไม่มีกำหนดที่แน่นอน แต่ให้มีระยะเวลาที่เนิ่นนานพอสมควรที่จะมีอิทธิพล หรือเป็นส่วนหนึ่งแห่งวิวัฒนาการของดินแดนส่วนนั้น

หลักกฎหมายว่าด้วยการครอบครองดินแดน และการกำหนดเส้นเขตแดน ตามหลักที่เรียกว่า Uti possidetis มีลักษณะอย่างไร และแตกต่างกับหลัก “Usucapio หรือ Usucaptio” อย่างไร
หลักกฎหมายว่าด้วยการครอบครองดินแดน และการกำหนดเส้นเขตแดน ตามหลักที่เรียกว่า Uti possidetis หรือมีลักษณะแตกต่างกับหลัก “Usucapio หรือ Usucaptio หรือ Usucaption” ดังนี้ หลักการครอบครองตามหลัก Uti possidetis ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การครอบครองที่ยอมรับโดยกลุ่มประเทศสาธารณรัฐสเปนอเมริกัน (Spanish-American Republics) ซึ่งหมายถึงกลุ่มประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้นของสเปนในอเมริกากลางหรือแอฟริกาใต้ การครอบครองตามหลักดังกล่าวได้วิวัฒนาการมาเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ที่หมายถึงการที่คู่ภาคีในสนธิสัญญาฝ่ายหนึ่งแม้โดยการใช้กำลังและได้ชัยชนะตั้งแต่ในระหว่างคราม และต่อมาเมื่อสงครามได้ยุติลงแล้ว สนธิสัญญาสันติภาพที่กระทำการยุติสงครามดังกล่าว อาจจะยอมรับผลของสนธิสัญญาที่กระทำขึ้นเดิมทีได้มีการแสดงการครอบครองดินแดนโดยรัฐที่มีชัยชนะเหนือดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่งดังกล่าว และบังคับการให้เป็นไปตามความตกลงนั้นๆ เดิมทีหลัก Uti possidetis ถูกนำมาใช้ในช่วงประกาศอิสรภาพของรัฐอาณานิคมต่างๆ ซึ่งหมายถึงหลักการยอมรับเขตแดนอย่างที่เป็นอยู่ในขณะที่ประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมนั้นๆ ได้รับเอกราช ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องเส้นเขตแดนของรัฐระหว่างรัฐทั้งหลายที่เคยตกเป็นอาณานิคมของประเทศเจ้าอาณานิคมต่างๆ เมื่อได้รับเอกราชก็มีการขัดแย้งกันเกี่ยวกับเส้นเขตแดนที่มีการกำหนดกันใหม่เพื่อแบ่งเขตแดนของรัฐใหม่เหล่านี้ ดังนั้นเขตแดนที่เป็นอยู่อย่างไรในขณะได้รับเอกราชของแต่ละรัฐก็ให้คงเป็นเช่นนั้นสำหรับเขตแดนของรัฐอิสระใหม่นั้น ดังนั้นหลักเกณฑ์นี้จึงมีความสำคัญมาก และโดยเหตุที่มีการยอมรับหลัก Uti Possidetis นี้เองทำให้ไม่มีดินแดนที่ไม่มีเจ้าของในขณะนั้น ในดินแดนส่วนนั้นๆ ที่เคยเป็นเจ้าของอาณานิคมมาก่อน
ส่วนหลักการครอบครองที่ว่า “Usucapio หรือ Usucaptio หรือ Usucaption” ซึ่งมีความหมายถึงการได้ดินแดนมาจาก การได้ใช้ หรือ ได้ครอบครองทำประโยชน์เหนือดินแดนนั้นเป็นเวลานาน ต่อเนื่องกันโดยไม่มีการขัดขวาง และจำเป็นต้องครอบครองนานนับตั้งแต่บรรพกาล (Immemmorial) และมีเจตนาสุจริตในการครอบครอง (Bonna fide Possession) อันเป็นองค์ประกอบในการครองครองปรปักษ์ตามกฎหมายโรมันนั่นเอง

เขตอำนาจรัฐ
1.              เขตอำนาจรัฐ หมายถึง อำนาจตามกฎหมายของรัฐเหนือบุคคล ทรัพย์สิน หรือเหตุการณ์ต่างๆ โดยอาจแบ่งเขตอำนาจรัฐตามเนื้อหาของอำนาจออกเป็น 1) เขตอำนาจในการสร้างหรือบัญญัติกฎหมาย และ 2) เขตอำนาจในการบังคับการตามกฎหมาย
2.              รัฐอาจใช้อำนาจของตนเหนือบุคคล ทรัพย์สิน หรือเหตุการณ์ต่างๆ ตามกฎหมายภายในโดยมีการเชื่อมโยงบางประการตามกฎหมายระหว่างประเทศ
3.              ตามหลักดินแดน รัฐมีเขตอำนาจที่สมบูรณ์เหนือบุคคล ทรัพย์สิน หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่อยู่หรือเกิดขึ้นภายในดินแดนของรัฐ โดยมีข้อยกเว้นบางประการตามกฎหมายระหว่างประเทศ
4.              ตามหลักสัญชาติ รัฐมีเขตอำนาจเหนือบุคคล ตลอดจนทรัพย์สินที่มีสัญชาติของรัฐ แม้อยู่ภายนอกดินแดนของรัฐ
5.              ตามหลักผู้ถูกกระทำ รัฐมีเขตอำนาจเหนือบุคคล โดยอาศัยสัญชาติของบุคคลเป็นตัวเชื่อมโยงเช่นเดียวกับหลักสัญชาติ แต่มีข้อแตกต่างกันคือ ตามหลักสัญชาติ อาศัยสัญชาติของผู้กระทำความผิดเป็นมูลฐานของเขตอำนาจรัฐ ส่วนหลักผู้ถูกกระทำ อาศัยสัญชาติของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อหรือได้รับผลร้ายจากการกระทำความผิดเป็นมูลฐานของเขตอำนาจรัฐ
6.              ตามหลักป้องกัน รัฐมีเขตอำนาจเหนือบุคคลซึ่งกระทำการอันเป็นภัยหรือกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ แม้ผู้กระทำมิใช่บุคคลสัญชาติของรัฐ และการกระทำนั้นมิได้เกิดขึ้นภายในดินแดนของรัฐ
7.              ตามหลักสากล รัฐใดๆ ก็ตามมีเขตอำนาจเหนืออาชญากรรมที่กระทบต่อประชาคมระหว่างประเทศโดยส่วนรวม แม้ว่าอาชญากรรมนั้นจะเกิดขึ้นภายนอกดินแดนของรัฐนั้น โดยผู้กระทำและผู้ได้รับผลเสียหายจากการกระทำมิใช่คนสัญชาติของรัฐนั้นก็ตาม

                                    แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับเขตอำนาจรัฐ
อธิบายความหมายของเขตอำนาจรัฐ
เขตอำนาจรัฐ หมายถึง อำนาจตามกฎหมายของรัฐเหนือบุคคล ทรัพย์สิน หรือเหตุการณ์ต่างๆซึ่งหากพิจารณาเขตอำนาจรัฐในฐานะที่เป็นส่วนสำคัญของแนวคิดว่าด้วยอธิปไตยแล้ว อาจแบ่งเขตอำนาจรัฐออกเป็น เขตอำนาจในทางนิติบัญญัติ เขตอำนาจในทางศาล และเขตอำนาจในทางบังคับการตามกฎหมายในทางบริหาร
แต่หากคำนึงถึงประโยชน์ในการทำความเข้าใจขอบเขตของเขตอำนาจรัฐ อาจจำแนกเขตอำนาจของรัฐออกตามเนื้อหาของอำนาจ (Substance of power) ดังนี้
1)            เขตอำนาจในการสร้างหรือบัญญัติกฎหมาย ซึ่งโดยปกติแล้วใช้อำนาจโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
2)            เขตอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายหรือบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งใช้อำนาจโดยฝ่ายตุลาการ และโดยฝ่ายบริหาร

มูลฐานของเขตอำนาจรัฐมีอะไรบ้าง
มูลฐานของเขตอำนาจเนื่องมาจากหลักการสำคัญ 5 ประการ ได้แก่
1)            หลักดินแดน
2)            หลักสัญชาติ
3)            หลักสากล
4)            หลักป้องกัน
5)            หลักผู้ถูกกระทำ

                                    เขตอำนาจรัฐตามหลักดินแดน
เขตอำนาจรัฐตามหลักดินแดน มีสาระสำคัญอย่างไร
สาระสำคัญของเขตอำนาจรัฐตามหลักดินแดนก็คือ รัฐมีเขตอำนาจเหนือบุคคล ทรัพย์สิน หรือเหตุการณ์ต่างๆ ภายในดินแดนของรัฐ โดยไม่จำต้องคำนึงว่า บุคคลนั้นมีสัญชาติของรัฐใด หรือทรัพย์สินนั้นเป็นของบุคคลสัญชาติใด

                                    เขตอำนาจรัฐตามหลักสัญชาติ
อธิบายสาระสำคัญของเขตอำนาจรัฐตามหลักสัญชาติ
ตามหลักสัญชาติ ถือว่าสัญชาติเป็นสิ่งเชื่อมโยงที่ทำให้รัฐสามารถใช้เขตอำนาจของตนเหนือบุคคลซึ่งถือสัญชาติของรัฐตลอดจนทรัพย์สินที่มีสัญชาติของรัฐ โดยไม่ต้องคำนึงว่าบุคคลหรือทรัพย์สินนั้นจะอยู่ที่ใด

                                    เขตอำนาจรัฐตามหลักผู้ถูกกระทำ
อธิบายหลัก Passive Personality มีความคล้ายคลึงและแตกต่างกับหลักสัญชาติอย่างไร
หลักสัญชาติและหลัก Passive Personality ต่างก็อาศัยสัญชาติของบุคคลเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างบุคคลและรัฐผู้ใช้เขตอำนาจ แต่ก็มีข้อแตกต่างกันคือ ตามหลักสัญชาติ รัฐสามารถใช้เขตอำนาจของตนโดยมีมูลฐานมาจากสัญชาติของผู้กระทำความผิด ในขณะที่ตามหลัก Passive Personality เขตอำนาจของรัฐกลับอาศัยมูลฐานจากสัญชาติของเหยื่อหรือผู้ได้รับผลร้ายจากการกระทำความผิด

                                    เขตอำนาจรัฐตามหลักป้องกัน
อธิบายถึงเขตอำนาจรัฐตามหลักป้องกัน พร้อมยกตัวอย่างการกระทำที่รัฐอาจอ้างหลักป้องกันได้
ตามหลักป้องกัน รัฐสามารถใช้เขตอำนาจของตนเหนือบุคคลซึ่งกระทำการอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ ทั้งในทางการเมืองและในทางเศรษฐกิจ เช่นการคบคิดกันล้มล้างรัฐบาล การจารกรรม การปลอมแปลงเงินตรา ตั๋วเงิน ดวงตรา แสตมป์ หนังสือเดินทาง หรือเอกสารมหาชนอื่นๆ ซึ่งออกโดยรัฐ เป็นต้น แม้ว่าผู้กระทำจะมิใช่บุคคลสัญชาติของรัฐ และการกระทำนั้นจะมิได้เกิดขึ้นภายในดินแดนของรัฐนั้นก็ตาม

                                    เขตอำนาจรัฐตามหลักสากล
หลักเขตอำนาจสากลมีสาระสำคัญอย่างไร
ตามหลักเขตอำนาจสากล รัฐใดๆ ก็ตามย่อมมีเขตอำนาจเหนืออาชญากรรมที่กระทบต่อประชาคม ระหว่างประเทศโดยส่วนรวม โดยไม่คำนึงว่าอาชญากรรมนั้นจะเกิดขึ้นในดินแดนของรัฐใด และผู้กระทำหรือผู้ได้รับผลเสียหายจากการกระทำจะเป็นคนสัญชาติของรัฐใด ดังนั้น เขตอำนาจสากลจึงมีความเชื่อมโยงอยู่กับลักษณะของการกระทำความผิดหรืออาชญากรรมเป็นสำคัญ




1.              ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายภายใน สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีต่างๆของนักนิติศาสตร์ อันได้แก่ ทฤษฎีเอกนิยม และทฤษฎีทวินิยม อย่างไรก็ดีความสัมพันธ์อันแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามแต่ละที่มาหรือบ่อเกิดของกฎเกณฑ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และตามลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายทั้งสองระดับ
2.              สภาพปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายภายใน อยู่ที่ว่าฝ่ายตุลาการผู้มีหน้าที่ปรับใช้กฎหมายระหว่างประเทศซึ่งคู่ความยกอ้างขึ้น มิได้มีส่วนร่วมโดยตรงในการสร้างกฎหมายเหล่านั้น จึงทำให้เกิดความยุ่งยากในทางปฏิบัติ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่กฎเกณฑ์ในกฎหมายระหว่างประเทศ ประเทศมีวิวัฒนาการในทิศทางที่ให้สิทธิประโยชน์กับบุคคลตามกฎหมายภายในของรัฐมากยิ่งขึ้น โดยมิได้จำกัดอยู่เพียงสำหรับรัฐอีกต่อไปดังเช่นในอดีต นอกจากนี้ความแตกต่างในระบบกฎหมายของแต่ละรัฐในเรื่องท่าทีและความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการจากการครอบงำของฝ่ายอื่นๆ ก็เป็นสาเหตุหลักอีกประการหนึ่ง
3.              ปัญหาในความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายภายใน ในทางปฏิบัติจะเน้นอยู่ที่การรับกฎหมายระหว่างประเทศมาปรับใช้ในประเทศ และปัญหาเรื่องการขัดกันระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายภายใน
4.              รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทยกำหนดให้การทำสนธิสัญญา เป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร สำหรับสนธิสัญญาบางประเภทต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ แต่การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีเกี่ยวกับอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพทำให้ต่อไปการทำสนธิสัญญาทั้งปวงต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติเสียก่อน
5.              ในทางปฏิบัติของศาลไทย สำหรับกฎเกณฑ์ของสนธิสัญญาโดยทั่วไปจะปรับใช้เมื่อแปรรูปเข้ามาเป็นกฎหมายภายใน เว้นแต่ในกรณีความจำเป็นของรัฐและเมื่อกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอาจใช้ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับ ในกรณีของกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ศาลมีดุลพินิจโดยอาจนำมาปรับใช้โดยตรงได้เมื่อเป็นกฎเกณฑ์ที่มุ่งใช้ต่อรัฐและไม่ต้องอาศัยกฎหมายรองรับ

หลักการและข้อพิจารณาทั่วไปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายภายใน
1.             ในทางทฤษฎี วิธีนำกฎหมายระหว่างประเทศมาปรับใช้ในระบบกฎหมายภายในมีอยู่ 2แนวทาง คือแนวทางของทฤษฎีเอกนิยม และทฤษฎีทวินิยม
2.             ในทางปฏิบัติลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศ กับกฎหมายภายในนั้นจะแตกต่างกันออกไป ตามแต่ละที่มาหรือบ่อเกิดของกฎเกณฑ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ความสัมพันธ์ตามลักษณะของความเกี่ยวข้อง ได้แก่ เรื่องการรับเอากฎหมายระหว่างประเทศมาใช้ในประเทศ การขัดกัน การย้อนส่ง หรือการเสริมซึ่งกันและกัน
3.             ปัญหาในทางปฏิบัติคือ การที่ฝ่ายตุลาการซึ่งมิได้มีส่วนร่วมโดยตรงในการสร้างหลักเกณฑ์ในกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ในบางสถานการณ์กลับมีหน้าที่ต้องปรับใช้กฎหมายระหว่างประเทศจึงทำให้เกิดความยุ่งยากในทางปฏิบัติ ทั้งนี้โดยมีสาเหตุหลัก 2 ประการคือ 1) วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบันทำให้เกิดกฎเกณฑ์ที่ให้สิทธิประโยชน์แก่คนชาติของรัฐ ซึ่งอาจยกอ้างสิทธิเหล่านี้ได้ในศาลภายใน 2) องค์กรทางการศาลของแต่ละรัฐมีอำนาจความเป็นอิสระและจุดยืนที่แตกต่างกัน ทำให้แนวทางในการปรับใช้กฎหมายระหว่างประเทศแตกต่างกันออกไปด้วย